นพ.ชัยศิริ วรรณลภากร
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
คำแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วย chronic coronary syndrome (CCS) มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
-
แยกภาวะ acute coronary syndrome (ACS) ออกจาก chronic coronary syndrome (CCS)
เนื่องจากผู้ป่วยสองกลุ่มนี้มีพยากรณ์โรค และแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน แต่อาจมีอาการที่คล้ายกันคือ เจ็บหน้าอก หรือ เหนื่อย ดังนั้นจึงควรเน้นถามประวัติ onset ของอาการ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการแปลผล ECG
ลักษณะอาการที่เข้าได้กับ unstable angina หรือ ACS ได้แก่
-
- อาการเจ็บหน้าอกเป็นขณะพัก (angina at rest)
- อาการเจ็บหน้าคงอยู่นาน โดยเฉพาะมากกว่า 20 นาทีขึ้นไป (prolong angina)
- อาการเจ็บหน้าอกมีความรุนแรงมากกว่าในอดีต (crescendo angina)
- อาการเจ็บหน้าอกที่เพิ่งเป็นมาไม่นาน (new-onset angina)
ในกรณีที่อาการเข้าได้กับ unstable angina หรือ ACS ให้ใช้แนวทางการรักษาตาม ACS guidelines
-
ประเมินโรคร่วม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคร่วมที่ส่งผลให้อายุขัยสั้น (short life-expectancy) หรือ มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี (poor quality of life) ร่วมกับมีลักษณะอาการ และผลการตรวจเบื้องต้นที่เข้าได้กับ CCS อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมด้วย invasive investigation และอาจไม่ต้องพิจารณารักษาด้วย revascularization เนื่องจากไม่ทำให้ผู้ป่วยมี life-expectancy ที่ยืนยาวขึ้น และไม่ช่วยเพิ่ม quality of life
-
การส่งตรวจเพิ่มเติมเบื้องต้น
มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก ค้นหาโรคร่วม ปัจจัยเสี่ยง และช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค
-
- Blood test (CBC, lipid profile, HbA1C, creatinine, etc.)
- ECG
- CXR
- Echocardiography
-
ประเมิน pre-test probability (PTP) และระดับ clinical likelihood
ประเมิน PTP และ clinical likelihood โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากประวัติ การตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่ม low PTP (PTP < 5%) อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยโรคอื่นต่อไป
-
การตรวจเพิ่มเติม
- ผู้ป่วยที่มี high clinical likelihood มีอาการรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือ มีลักษณะบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิด cardiovascular event อาจพิจารณาส่งตรวจ invasive coronary angiography (ICA) โดยไม่ต้องทำ non-invasive test ก่อน
- ผู้ป่วยที่มี intermediate clinical likelihood ให้พิจารณาส่งตรวจ non-invasive test
- Functional test ได้แก่ stress CMR, stress echocardiography, myocardial perfusion scan
- Anatomical test ได้แก่ coronary CTA
*อาจพิจารณาส่งตรวจ exercise ECG ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจด้วย non-invasive test วิธีอื่นได้
-
ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่มี obstructive coronary artery disease บางราย อาจไม่มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการทำ revascularization ผลจากการศึกษา ISCHEMIA trial พบว่าการรักษาผู้ป่วย CCS ที่มี moderate to severe ischemia ด้วยการ revascularization + optimal medical treatment (OMT) ไม่ได้มี benefit เหนือไปกว่าการรักษาด้วย OMT alone ดังนั้นจึงควรประเมินว่าผู้ป่วยรายใดที่มีความเสี่ยงที่จะเกิด cardiac events สูง และอาจจะได้ประโยชน์จากการ revascularization
-
การรักษาด้วยยาเพื่อป้องกันการเกิด cardiac events
-
- Antiplatelet
- LDL-lowering drugs
- RAAS blockers
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้พิจารณาใช้ยาในกลุ่ม SGLT2 inhibitor หรือ GLP-1 RA
- ผู้ป่วยที่มี LV dysfunction ให้พิจารณาใช้ยาในกลุ่ม beta-blocker
-
การรักษาด้วยยาเพื่อลดอาการเจ็บหน้าอก
-
- Beta-blocker
- Calcium channel blocker
- Nitrate
- Ranolazine
- Trimetazidine
- Ivabradine
เลือกใช้ยาแต่ละชนิดโดยพิจารณาจาก ข้อห้าม โรคร่วม ชีพจร และความดันโลหิต โดยสามารถเลือกใช้ได้มากกว่า 1 ชนิด ในกรณีที่มีความจำเป็น
-
การพิจารณา revascularization
ข้อบ่งชี้ในการ revascularization สำหรับผู้ป่วย CCS
-
- For improve prognosis ได้แก่
- Left main stenosis > 50%
- LVEF ≤ 35%
- Single remaining vessel
- Proximal LAD stenosis > 50%
- Large area of ischemia
- For improve symptom ได้แก่ ผู้ป่วยที่ยังมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ เหนื่อย ที่มีผลสืบเนื่องมากจากภาวะหัวใจขาดเลือด แม้จะได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้ว
- For improve prognosis ได้แก่
* ในกรณีที่หลอดเลือดตีบน้อยกว่า 90% ควรมีผลการตรวจยืนยันด้วย functional test ก่อนพิจารณาให้การรักษาด้วย revascularization
การเลือกว่าจะ revascularization ด้วยการทำ percutaneous coronary intervention (PCI) หรือ coronary artery bypass graft surgery (CABG) ให้พิจารณาจาก ลักษณะรอยโรคที่หลอดเลือดหัวใจ ความเสี่ยงในการผ่าตัด โรคร่วม โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา ผู้ป่วยที่มีลักษณะรอยโรคที่หลอดเลือดหัวใจไม่ซับซ้อน และ/หรือ มีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูง อาจพิจารณารักษาด้วยการทำ PCI ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยที่มีลักษณะรอยโรคที่หลอดเลือดหัวใจซับซ้อน และ/หรือ มีความเสี่ยงในการผ่าตัดต่ำ อาจพิจารณารักษาด้วยการทำ CABG
-
การฟื้นฟูหัวใจ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
การป้องกันการเกิดโรคซ้ำ (secondary prevention) โดยอาศัย non-pharmacological treatment มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี มีค่าใช้จ่ายน้อย รวมทั้งเป็นการรักษาที่อาจจะไม่มีผลข้างเคียงเลยถ้าสามารถทำได้อย่างถูกต้อง
-
- การฟื้นฟูหัวใจ หรือ cardiac rehabilitation ควรเริ่มทำให้เร็วที่สุด เมื่อผู้ป่วยมีอาการ และสัญญาณชีพคงที่ และทำอย่างต่อเนื่องทั้งในระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาลแล้ว
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจใช้แนวทางที่จำได้ง่าย ได้แก่ “ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 2 ส.” ใส่ใจ อ.อาหาร อ.อิริยาบถ ออกแรง ออกกำลังกาย และ อ.อารมณ์ บอกลา ส.สูบบุหรี่ และ ส.สุรา
การรักษาผู้ป่วย CCS โดยพิจารณาทั้ง 10 ข้อนี้ จะช่วยให้การรักษามีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ในทุกหัวข้อได้ จาก Thai CCS Guidelines 2021 โดยสามารถ download ได้ทาง www.thaiheart.org/CCS ครับ
ขออุทิศบทความฉบับนี้ให้กับ พี่ปุ๊ก อาภรณ์ มีชูกิจ หนึ่งในผู้มีบทบาทเบื้องหลังของ Thai CCS Guidelines 2021 ครับ
บทความโดย นพ.ชัยศิริ วรรณลภากร (Chaisiri Wanlapakorn, MD)